คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์

ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รวบรวมขึ้น ที่มาของเรื่อง ศัพท์ภาษาไทยว่า “แพทย์” มาจากศัพท์สันสกฤต “ ไวทย ” แปลว่า ผู้รู้พระเวท หมายถึงผู้รู้วิชาการต่างๆ ที่ประมวลอยู่ในคัมภีร์พระเวทและผู้รู้วิชาการรักษาโรคเป็นที่นับถือยกย่องและมีบทบาทมากในสังคม ต่อมาคำว่า “ ไวทย ” จึงมีความหมายเจาะจงหมายถึงผู้รู้วิชาการรักษาโรค ตำราแพทย์ของไทย ที่มีมาแต่โบราณ มีร่องรอยของอิทธิพลความเชื่อ และหลักปฏิบัติต่างๆ ที่ปรากฏใน ตำราแพทย์ของอินเดีย เรียกว่า คัมภีร์ฉันทศาสตร์ “ฉันทศาสตร์” เป็นชื่อตำราฉบับหนึ่งเช่นเดียวกับตำราอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้ว พิจารณาจากบทไหว้ครูและเนื้อหาที่สอนจรรยาแพทย์ และข้อควรปฏิบัติสำหรับแพทย์ นับว่าเป็นตำราฉบับแรก ในหนังสือชุด แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมขึ้น ...